ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรต้านหวัด

ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรต้านหวัด

ฟ้าทะลายโจร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees.

ชื่อสามัญ : Kariyat

ลักษณะ : ฟ้าทะลายโจรจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปไข่รียาว แคบโคนใบ และปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเกลี้ยงมีสีเขียว

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ทาง กลีบล่างมี 2 อัน อับเกสรสีม่วงแดง และมีขนยาวๆ

ผล ลักษณะเป็นฝัก คล้ายฝักต้อยติ่งแต่ผอมและมีขนาดเล็ก ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อฝักแก่จะเป็นสีน้ำตาบและ จะแตกออกเป็น 2 ซีกอยู่บนต้น ซึ่งทำให้มองเห็นเมล็ดวางอยู่ในผลได้ชัด ปลายแหลม เมล็ดในสีน้ำตาลอ่อน

ประโยชน์ทางยา

ฟ้าทะลายโจร สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ทางยาสมุนไพรอยู่ 3 สารด้วยกัน โดยเป็นสารในกลุ่ม Lactone ซึ่งก็คือ สารแอดโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide), สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (Neo-Andrographolide), และสาร 14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide) โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ใบสด ใบแห้ง และทั้งต้น โดยใบจะเก็บมาใช้ได้เมื่อต้นมีอายุได้ราว 3-5 เดือน

ใบ : มีรสขม แก้อาการคออักเสบ เจ็บคอ ช่วยแก้ปวดหัวตัวร้อน เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ ช่วยแก้ไอ ลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูก

ต้น : เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ บำบัดโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร เป็นยาบำรุงกำลัง และเป็นยาขับน้ำเหลือง

ส่วนที่เหนือดินทั้งต้น : บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน

แหล่งที่มาของข้อมูล

ข้อมูลพืชสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

องค์การเภสัชกรรม, ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์