แก้วมังกรเภสัช

จากภูมิปัญญา ความสามารถทางการแพทย์แผนโบราณที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพื่อการสืบสาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านยาสมุนไพรจากรุ่นสู่รุ่น โดยนำมาผสมผสานกับ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในปัจจุบัน บริษัท แก้วมังกรเภสัช จำกัด จึงได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 เพื่อผลิตยา สมุนไพรแผนโบราณ โดยมีมาตรฐาน ระดับสากลมีช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ โรงพยาบาลของรัฐ และร้านขายยาชั้นนำ ทั่วประเทศ

หลักการดำเนินงาน

1.Good Agricultural Practice (GAP)

สมุนไพรที่ดี ควรใช้วัตถุดิบสมุนไพรที่ดี มีกระบวนการ เพาะปลูก ที่ดีเป็นไปตามหลักวิชาการ ซึ่งเน้นการเพาะปลูกแบบ เกษตรอินทรีย์ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี เป็นต้น ทางบริษัทฯได้ดำเนินการปลูกพืชสมุนไพรเองหลายชนิด เช่น ฟ้าทะลายโจร, ขมิ้นชัน, เพชรสังฆาต และกวาวเครือขาว เพื่อการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบได้ตามที่ต้องการสำหรับใช้ผลิตยาที่ดี

2.Good Harvesting Practice (GHP)

ยาจากสมุนไพรที่ดี ควรใช้วัตถุดิบสมุนไพรที่ดี มีวิธีการเก็บเกี่ยวที่ดีและเหมาะสมเพื่อให้ได้ส่วนของพืชสมุนไพรที่ต้อง การใช้และให้สารสำคัญสูง เช่นการเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูกาล เหมาะสม หรือในช่วงอายุที่พืชให้สารสำคัญสูงสุดเก็บเกี่ยวเฉพาะ ส่วนที่ต้องการใช้ เพื่อลดส่วนที่ไม่ต้องการใช้หรือสิ่งปลอมปน อื่นให้ได้มากที่สุดรวมทั้งมีมาตรการป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่อาจปะปนเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ แมลง หรือพืชชนิดอื่น เป็นต้น ทางบริษัทฯ ได้พัฒนาเกษตรกร ของบริษัทฯ ให้มีความรู้ใน การเก็บเกี่ยวได้อย่างถูกวิธี และมีประสิทธิภาพ

3.Good Manufacturing Practice (GMP)

ยาจากสมุนไพรที่ดี ควรมีหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตที่ดี โดยทุกขั้นตอนการผลิตรวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องได้รับการควบคุมตรวจสอบอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้หากเกิดปัญหาซึ่งข้อกำหนดสำหรับหลักเกณฑ์ และวิธีการผลิตที่ดี ทางบริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและในระดับสากลคือ GMP PIC/S

4.Good Laboratory Practice (GLP)

ยาจากสมุนไพรที่ดีควรมีการควบคุมคุณภาพโดยมีห้องปฏิบัติที่มาตรฐาน มีการควบคุมคุณภาพทางเคมี เช่น การตรวจสอบ สารสำคัญทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ ที่ทันสมัย เช่น HPLC, SPECTROPHOTOMETER, MOISTURE CONTENT ANALYSER, ROTARY EVAPORATOR เป็นต้น ทั้งยังต้อง ควบคุมคุณภาพ ทางจุลชีววิทยา เช่น การหาปริมาณจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อน ในผลิตภัณฑ์ ยาจากสมุนไพร ตามข้อกำหนด (MICROBIAL LIMIT TEST) ซึ่งต้องอาศัยบุคลากร ที่มีความรู้ ทางด้าน วิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี

5.Good Clinical Practice (GCP)

ยาจากสมุนไพรที่ดี ควรจะมีงานวิจัยทางด้านทางคลินิก เพื่อรับรองสรรพคุณของยา ว่าเป็นไปตามสรรพคุณที่ใช้ และควรมีงานวิจัยทางด้านความปลอดภัยของยาสมุนไพร เพื่อให้เกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุดในการรักษาโรค ตำราที่ใช้อ้างอิง เช่น บัญชียาจาสมุนไพร พ.ศ. 2549, Thai herbal Pharmacopeia, เภสัชตำรับอื่น ๆ ทั้งยุโรป และอเมริกา ตลอดจน รวมงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์และเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก