ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำขณะออกกำลังกาย
ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการออกกำลังกาย ซึ่งหลังออกกำลังกาย ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง แล้วลดลงมากกว่า 24 ชั่วโมง ทำให้สามารถลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้
การออกกำลังกายที่แนะนำ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คือ การเดิน ขี่จักรยาน การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (ยางยืดหรือดัมเบล) และการฝึกการทรงตัว เป็นต้น และควรมี การ warm up /ก่อนออกกำลังกาย 5-10 นาที และ cool down /หลังออกกำลังกาย 10 นาที ทุกครั้ง
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะออกกำลังกาย
ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาหรือเป็นเบาหวานจากพันธุกรรม จะมีความเสี่ยงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะออกกำลังกาย (ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 100 mg/dL) ซึ่งมีอาการดังนี้
- เหงื่อออกมากผิดปกติ
- หัวใจเต้นเร็ว
- มึนงง/เวียนศีรษะ
- มือสั่น
- กระสับกระส่าย
- รู้สึกหิว
- อ่อนเพลีย/ไม่มีแรง
- ตาพร่า
ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ควรปฏิบัติ ดังนี้
- อมลูกอมที่มีน้ำตาล 4 กรัม (ประมาณ 1-2 เม็ด)
- น้ำผลไม้ ½ แก้ว
- น้ำผสมน้ำหวาน/น้ำผึ้ง ½ ครึ่งช้อน
- แล้วควรวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากนี้ 15 นาที หากน้ำตาลยังไม่ลดลงควรปรึกษาแพทย์
แหล่งที่มาของข้อมูล
นางสาวอ้อมเดือน ชื่นวารี นักกายภาพบำบัด
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก