ภาวะโลหิตจาง! ป้องกันได้

ภาวะโลหิตจาง! ป้องกันได้

หากรู้สึกอ่อนเพลียเหนื่อยล้า ปวดหัวตุบๆ หายใจถี่หรือหายใจขัด ใจสั่นและหนาว ผิวและเหงือกซีด ให้คุณรู้ไว้เลยนี้คืออาการของโลหิตจางที่มีจำนวนเม็ดเลือดต่ำในระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกาย

“จำนวนเม็ดเลือดแดง (RBC; Red Blood Cell)” ของคุณมีปริมาณที่น้อยจนไม่สมดุลกับปริมาณเลือดของคุณ จึงส่งผลทำให้ร่างกายของคุณต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตก็ช่วยให้สุขภาพดีขึ้นกาย

  • ลดการบริโภคแอลกอฮอล์
  • ลดปริมาณการสูบบุหรี่
  • การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count)   
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกาย

สารอาหารที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดแดง

  • เหล็ก : เป็นสารอาหารที่มีการเชื่อมโยงมากที่สุดที่จะเป็นตัวชี้วัดโรคโลหิตจาง ร่างกายใช้ธาตุเหล็กเพื่อสร้างฮีโมโกลบินซึ่งจับและเก็บออกซิเจนไว้ในเซลล์เม็ดเลือด หากไม่มีธาตุเหล็กจะทำให้เม็ดเลือดแดง อาจสลายหรือไม่สามารถส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกายได้
  • ทองแดง : เป็นแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายสามารถใช้ธาตุเหล็กในเซลล์เม็ดเลือดแดง ได้เต็มที่ หากทองแดงในร่างกายไม่เพียงพอ จะทำให้คุณมีปัญหาในการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
  • วิตามินเอ : เรตินอลหรือวิตามินเอเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดง ได้เหมือนกับทองแดง และช่วยให้เซลล์ดูดซับธาตุเหล็กที่ร่างกายคุณต้องการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • วิตามิน B9: หรือ กรดโฟลิคหรือโฟเลต เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับระบบประสาทและต่อมหมวกไต โฟเลตยังช่วยสร้างเซลล์ใหม่ในร่างกาย และหากร่างกายมีในระดับต่ำจะส่งผลให้เป็นโรคโลหิตจางได้
  • วิตามิน B12: มีความสำคัญต่อการทำงานของสมองและการสร้างเม็ดเลือดแดง การขาดวิตามิน B12 สามารถกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาของเม็ดเลือดแดง ผิดปกติที่เรียกว่า Megaloblasts (ข้อบกพร่องในการเจริญเติบโตของสารตั้งต้นของเซลล์เม็ดเลือดแดง) ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะที่แพทย์ เรียกว่า “โรคโลหิตจาง Megaloblastic”
  • วิตามินซี: มีความสำคัญเนื่องจากช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น เหล็กจะเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดแดง ที่ร่างกายจะสร้างขึ้นมา

แหล่งที่มาของข้อมูล

ศ.น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2553).

ผศ.นพ.เอกรัฐ รัฐฤทธิ์ธำรงม, สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. โรคเลือดจางเอ็มดีเอส.