ไพลตัวช่วยยามปวดเมื่อย
ไพล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingibermontanum (Koenig ) Link ex Dietr.
ชื่อสามัญ : Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1 – 1.5 เมตร มีลำต้นใต้ดินลักษณะเป็นเหง้ามีขนาดใหญ่ และเป็นข้อ เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในหัวสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด ร้อนซ่า มีกลิ่นหอมเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย
ประโยชน์ทางยา
เหง้า: เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้บิด ท้องเดิน ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกบวม แก้ผื่นคัน
น้ำคั้นจากเหง้า: รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อย
หัว : ช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้มุตกิตระดูขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน
ดอก : รสขื่น ขับระดู ขับโลหิตกระจายเลือดเสีย แก้ชำใน
ต้น : แก้ธาตุพิการ แก้อุจาระพิการ
ไพลสามารถนำมาทำเป็น ครีมไพล, น้ำมันไพล, ไพลผง, ไพลขัดผิว, ไพลทาหน้าได้
แหล่งที่มาของข้อมูล
ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุรินทร์